บ่อน้ำแร่

บ่อน้ำแร่ ณ วัดวังขนาย


เพิ่มคำอธิบายภาพ

      บ่อน้ำร้อนวัดวังขนาย เป็นน้ำบาดาล ดูดดมาจากใต้ดิน ความลึกประมาณ 30 เมตร บริเวณวัด 90 ไร่ จะร้อนเกือบทั้งหมด ความร้อนของแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน บริเวณหน้าวัดจะร้อนที่สุดประมาณ 42 องศาเซลเซียส
น้ำแร่ของวัดวังขนาย จะแตกต่างจากที่อื่นตรงวิธีการแช่ ซึ่งที่อื่นจะเป็นการแช่รวมกัน แต่ทางวัดวังขนายจะใช้วิธีการแช่ต่างคนต่างแช่ และแช่แค่ครั้งเดียว หลังจากนั้นก็จะทิ้งน้ำนั้นไปเลย ไม่นำกลับมาใช้อีก
ความร้อนของน้ำ แร่ ที่อื่นๆ จะร้อนประมาณ 60-100 องศาเซลเซียส แต่ของทางวัดวังขนายจะร้อนประมาณ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเข้าหลัก "ธาราบำบัด" อยู่ไม่ต่ำกว่า 40 และ ไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส
ประโยชน์ของการแช่ น้ำแร่ คือ เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อผ่อนคลายการทำงานของระบบต่างๆ ในตัวเรา ทำให้จิตใจดีขึ้น (คลายเครียด) ช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดลมหมุนเวียนได้ดี และ ทำให้ไขมันในเส้นเลือดลดลง
เปิดบริการทุกวันตั้งแต่ 05.00-21.00 น.





      








วิธีการอาบน้ำแร่ แช่น้ำร้อน
1.ให้ไปขอพรหลวงพ่อสรรเพชญและรูปจำลองหลวงพ่อเสนาะที่วิหารกาญจนาภิเษก 50 ปี เพื่อเป็นศิริมงคลในการบำบัดรักษาหรือเพื่อสุขภาพที่ดี
2.ให้ผู้ที่ต้องการแช่น้ำในบ่อ มาลงชื่อที่อยู่พร้อมทั้งขอรับบัตรและน้ำมนต์
3.ควรทำความสะอาดอ่างน้ำที่จะลงแช่ก่อน หากเปิด-ปิดน้ำร้อนยังไม่เป็น
ให้เรียก จนท. ช่วยเหลือหรือแนะนำในการปิด - เปิดน้ำร้อน โดยในครั้งแรกควร
เปิดแช่เพียงแค่ระดับข้อเท้าเพื่อปรับตัวและระดับอุณหภูมิในร่างกายเสียก่อน
แล้วจึงเพิ่มปริมาณน้ำ ปรับระดับน้ำร้อนให้สูงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อเท้า เป็นเข่า
เอว อก โดยในแต่ละระดับควรแช่และปรับตัวครั้งละประมาณ 3 - 5 นาที
ปวดเมื่อยบริเวณใดก็แช่น้ำร้อนแล้วบีบนวดไปตามความพอใจ
ข้อควรระวัง!
1.ห้ามสตรีมีรอบเดือนหรือครรภ์และผู้ที่มีเชื้อ เอช.ไอ.วี ลงอาบน้ำ
2.ห้ามอาบหรือแช่เกินครั้งละ 30 นาที (15 นาทีกำลังดี)
3.ห้ามดำน้ำเล่นโดยเด็ดขาด (อาจสำลักและเป็นอันตรายได้)
4.ห้ามเด็กต่ำกว่า 7 ขวบและคนสูงอายุ คนพิการ อาบหรือแช่น้ำตามลำพัง
5.หลังจากอาบ-แช่น้ำร้อนแล้ว ควรนั่งพักประมาณ 15 นาที เพื่อปรับสภาพร่างกาย ก่อนที่จะแช่ต่อหรือเลิกการอาบ - แช่น้ำร้อน
6.ห้ามนำสบู่ ยาสระผม ลงไปในอ่างอาบ - แช่ น้ำร้อนเด็ดขาด
7.ผู้เป็นโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน หืดหอบ ไม่ควรแช่เกิน 20 นาที
8.ไม่ควรแช่น้ำเกินระดับหน้าอก เพราะจะทำให้เสียเหงื่อมาก
9.รับน้ำมนต์จากเจ้าหน้าที่ไปดื่มเพื่อชดเชยเหงื่อที่เสียไป


การทำบุญอื่นๆ

การทำบุญพรประจำวันเกิด
วันอาทิตย์ ..
 "ปางถวายเนตร"
            พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์...
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา, นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา
 สวดวันละ ๖ จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน

 วันจันทร์ ..
 "ปางห้ามสมุทร"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง (บางตำราใช้พระปางห้ามพยาธิเป็นพระประจำวันจันทร์)
 บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์...
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
 สวดวันละ ๑๕ จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืออ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สรกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง
วันอังคาร ..


"ปางโปรดอสุรินทราหู (ปางไสยาสน์)"
 พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
 บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร...
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห
 ผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล
�� H � � 8�h p 2 ��วนะ วินาสะเมนตุ
 สวดวันละ ๑๕ จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืออ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สรกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง


วันพุธ ..



"ปางอุ้มบาตร"
 พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว
 บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน)...
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห
สวดวันละ ๑๗ จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป




วันพฤหัสบดี ..


"ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
 บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี...
อัตถิโลเก สีละคุโณ สัจจังโสเจยยะ นุททะยา เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมัพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะนิกขันตา ชาตะเวทะ ปฏิกกะมะ สะหะ สัจเจกะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ     สวดวันละ ๑๙ จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป


วันศุกร์ ..



"ปางรำพึง"
 พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
 บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์...
อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห
 สวดวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน



วันเสาร์ ..


"ปางนาคปรก"
 พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
 บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์..
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ
 สวดวันละ ๑๐ จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน




การเติมน้ำมันตะเกียง ..


การเติมน้ำมันตะเกียง เปรียบดั่ง การเติม กุศลกรรม คือ บุญ เพื่อรักษาเปลวไฟ ให้สว่าง ไม่ดับ ก่อนกาลเวลาอันควร ควรเติม บุญกุศล ไว้ให้มาก เติมทุกวัน แม้วันนึง กายจะดับ แต่บุญนี้ก็ยังคงอยู่ ไม่ไปไหน เมือสู่ภพภูมิใหม่ เมื่อเปลี่ยน ไส้ตะเกียงใหม่ เราก็มีเสบียงคือ น้ำมันที่ได้เติมไว้เหลือเฟือ พอที่จะมีแรงที่จะต้องว่ายเวียน ในสังสารวัฏ ต่อไป จนกว่าเราจะหาทางออกไปได้ คือ นิพพาน


มรณุปปัติ

๑. อายุกขยมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุ

คือ ตายแก่หรือตายธรรมดา ตามกำหนดอายุ หรือตามขอบเขตแห่งการดำรงอยู่ของชีวิตรูป ในยุคสมัยนั้น ๆ เช่น สมัยพุทธกาล คนมีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี เดี๋ยวนี้มี อายุประมาณ ๗๕ ปี คนที่ตายโดยกำหนดอายุขนาดนี้ ถือว่า ตายเพราะสิ้นอายุ ถ้าเป็นสัตว์ในภพอื่น ๆ เช่น เทวดา พรหม หรือสัตว์ในอบายภูมิ ก็มีอายุตามคติกำหนดของสัตว์ในภพนั้น ๆ เช่น ข้อนี้เปรียบเหมือน ตะเกียงที่ไส้ไหม้หมด ย่อมดับ แม้จะมีน้ำมัน

๒. กัมมักขยมรณะ ตายเพราะสิ้นกรรม

ตายเพราะหมดกรรมคือชนกกรรม ที่ส่งผลให้เกิดในภพนั้น ๆ และ อุปถัมภกกรรม มีหน้าที่ ช่วยอุดหนุนรูปนาม (ที่ชนกกรรมให้เกิด) ให้ตั้งอยู่ในภพนั้น ๆ แต่ถ้ากรรม ๒ อย่างนี้สิ้นสุด แม้ว่าคนนั้น จะเกิดในช่วงมนุษย์ มีอายุ ๑๐๐ ปี หรือ ๒๕ ปี แต่ไม่สามารถดำรงชีพ อยู่ตามกำหนดได้ อาจมีอายุอยู่เพียง ๗ วัน ๑ เดือน หรือ ๑๐ ปี การตายเพราะสิ้นอำนาจกรรม ๒ ชนิดนี้ บางทีเรียกว่า เพราะหมดบุญหรือ ปุญญักขยมรณะ อุปมาเหมือน ตะเกียงที่ไส้มีพร้อม เรือนตะเกียงดี แต่น้ำมันหมดจึงดับ

๓. อุภยักขยมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุและกรรมพร้อมกัน

คือ การดับขันธ์โดย ข้อ ๑ - ๒ รวมกันในโอกาสเดียวเปรียบเหมือน ตะเกียงหมดไส้และน้ำมันพร้อมกัน ว่าในฝ่ายอกุศลวิบาก สุนัขที่อกุศลชนกกรรมส่งให้มีอายุ ๑๐ - ๑๒ ปี และทั่วไป สุนัขก็มีอายุขนาดนี้ ถือว่าการตายของสุนัขนั้น เป็น อุภยักขยมรณะ ในฝ่ายกุศล การปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าก็อยู่ในคตินี้

๔. อุปัจเฉทกมรณะ ตายเพราะกรรมตัดรอน

คือ ตายเพราะกรรมเข้าไปตัดวิบากและกัมมชรูปหมายความว่าอกุศล กรรมที่ได้ทำไว้เข้าไปตัด ชวนให้ตายเสียก่อน ในสมัยที่ยังไม่ถึงเวลา เช่น ถูกไฟไหม้ อาวุธ ถูกวางยา อุปมาเหมือน ตะเกียงมีไส้น้ำมันพร้อม แต่ถูกลมพัดอย่างแรง จึงดับ


 การทำบุญโลงศพ..


อานิสงค์การทำบุญบริจาคโลงศพ
      คนทั้งหลายมีความเชื่อว่า  ทำบุญบริจาคโลงศพเป็นการสะเดาะเคราะห์  ต่อชะตาสืบอายุนั้น  มันมีอานิสงส์    ตามที่ได้ยินได้ฟัง ที่เขาพูดกัน หรือสมความคาดหวังอย่างนั้น จริงหรือ อย่างไร     ขอทบทวน ทำความเข้าใจกันใหม่   บุญเป็นชื่อของความจริง ที่เป็นเหตุให้เกิดผลเป็นความสุข ความเจริญ ทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และให้บรรรลุถึงนิพพานเป็นที่สุด  หรือว่า บุญเป็นชื่อของความจริง เป็นชื่อของธรรมที่เป็นเหตุ  ให้กาย  วาจา  ใจ  ให้ประพฤติดีงาม  เรียกว่า สุจริต   3   ถ้าหลักธรรม หรือความจริงอันดีงามทั้งหลาย เช่น  ความ ไม่โลภ  ความไม่โกรธ   ความรอบรู้ไม่หลงงมงาย    สามอย่างนี้เป็นต้น   ตั้งอยู่ในจิตใจของใครแล้ว  ก็จะทำให้กาย  วาจา  ใจ   ของคนนั้นประพฤติแต่สุจริตกรรม  หรือทำให้กาย  วาจา  ใจ  ของคนนั้น  ทำแต่ความดีความงาม  และได้รับความนิยมชมชอบสรรเสริญ ในหมู่คนดี และเทวดา  อมนุษย์ ทั้งหลาย 
       ฉะนั้น   การให้ทานทั้งหลาย ก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง ในบุญกิริยาวัตถุ  10  อย่าง   การให้โลงศพเป็นทาน  ก็เป็นบุญอย่างหนึ่งในการให้ทานทั้งหลาย  และการให้โลงศพเป็นทาน หรือทำบุญเกี่ยวกับโลงศพ   เช่น นอนในโลง ศพ  นอนบนฝาโลงศพ  และทอดผ้าบังสุกุล   แล้วนิมนต์พระมาสวด ชักผ้าบังสุกุล เหล่านี้ คนทั้งหลายเชื่อกันว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์   ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย  ให้ออกจากร่างกาย  หรือสืบชะตาต่ออายุให้มีโชคมีชัย  มีความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าในหน้าที่การงานเหล่านี้เป็นต้น


การถวายสังฆทาน ..





        การถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญที่คนไทยเชื่อกันว่า เป็นการทำทานที่ได้บุญมาก เพราะ สังฆทาน เป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน เมื่อพร้อมแล้วนำไปยังวัด บอกท่านเจ้าอาวาสว่า ต้องการถวายสังฆทาน ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์รูปใดมารับสังฆทานก็ได้ หรือจะเตรียมของแล้วนำของไปยังวัด ไปพบพระสงฆ์รูปใดก็แจ้งความจำนงขอถวายสังฆทาน ท่านก็จะทำพิธีรับสังฆทาน หากกำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่ง การทานนั้นก็ไม่เป็น สังฆทาน
        ของที่จะถวายสังฆทาน มักเป็นอาหาร และสิ่งของที่จำเป็นสำหรับภิกษุสามเณร เช่น สบง จีวร ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ เครื่องกระป๋อง นม อาหารแห้ง เป็นต้น รวมถึง ชา กาแฟ โอวัลติน และเงิน ตามความจำเป็น ตามความพอใจของผู้ที่จะทำสังฆทาน ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใด ผู้ถวายทานก็มักจะบอก หรือเขียนชื่อ นามสกุล ให้แก่พระภิกษุ เพื่อท่านจะได้ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ
       การทำพิธีถวายสังฆทาน ไม่มีอะไรยุ่งยาก เมื่อนำสิ่งของไปและพระสงฆ์รู้ความประสงค์ ท่านก็จะให้จุด ธูป เทียน แล้วก็ว่า นโม 3 จบ แล้วกล่าวถวาย สังฆทาน ดังนี้
อิมานิ มยงภันเต ภตตานิ สปริวารานิ ภิกขุสงคสส โอโณชยาม โร ภนเต ภิกขุ สงโฆ อิมานิ ภตตานิ สปริวารานิ ปฏิคคณหาตุ อมหากํ ฑีฆรตตํ หิตาย สุขาย
       ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญพระสงฆ์จบจะ สาธุแล้วก็ถวายของที่เป็นสังฆทานทั้งหมดให้ท่าน แล้วท่านก็จะให้ศีลให้พร  สัพพี ผู้ถวายสังฆทานก็กรวดน้ำ แผ่ส่วนบุญกุศล เป็นอันเสร็จพิธีทำบุญถวายสังฆทาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น